วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

วันเด็กแห่งชาติ

ประวัติวันเด็กแห่งชาติ

งาน วันเด็กแห่งชาติ จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและ นอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
งานวันเด็กแห่งชาติ จัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมจนถึง พ.ศ. 2506 และใน พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2508 โดยเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

วันกาชาติ

วันกาชาดไทย



กาชาด หมายถึง ตีนกาสีแดง สภาการกุศลสำหรับชาติหรือประชาชนทั่วไป

วันกาชาดเป็นวันที่คนไทยควรจะตระหนักถึงความสำคัญของสภากาชาดไทยที่มีต่อสังคมในการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก และเข้าร่วมกิจกรรมวันกาชาดไทยเพื่อสนับสนุนช่วยกาชาดด้านกำลังทรัพย์ กำลังความคิดในกิจการสาธารณกุศลให้ดำเนินก้าวหน้าต่อไป

ความเป็นมา

ในปี พ.ศ. 2402 เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับออสเตรียทำให้มีทหารได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ชาวสวิสชื่อ นายอองรี ดูนองต์ (อังรี ดูนังต์) ได้ชักชวนชาวบ้านให้ช่วยกันนำทหารที่บาดเจ็บไปทำการรักษาพยาบาล โดยนายอองรี ทำการรักษาให้โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติว่าเป็นฝ่ายใดหรือชาติไหนดังนั้น ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงมีความชื่นชมในมนุษยธรรมของนายอองรี และได้มีการจัดตั้งองค์การสาธารณกุศลในประเทศของตน ต่อจากนั้นมีการรวมตัวกันกลายเป็นสภากาชาดสากล ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในโอกาสต่อมา

ในประเทศไทยได้ก่อตั้งสภากาชาดเมื่อ พ.ศ. 2436 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือทหารที่ได้รับบาดเจ็บในกรณีพิพาท ร.ศ.112 เมื่อเหตุการณ์สงบทางราชการให้ทำเป็นองค์การสาธารณกุศลเพื่อทำประโยชน์และบรรเทาทุกข์ภัยของประชาชนต่อไป

องค์การกาชาดได้จัดให้มีงานประจำปีทุกปี ซึ่งไม่มีกำหนดวันที่แน่นอนขึ้นอยู่กับความเหมาะสม การจัดงานวันกาชาดก็เพื่อเป็นการเผยแพร่หลักการ การดำเนิน ผลงาน กิจกรรมต่างๆ รวมทั้งหาเงินเพื่อมาใช้ในกิจกรรมสาธารณกุศลไว้รับใช้ประชาชนที่เดือดร้อนต่อไป



พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ก่อตั้งองค์กรการกุศล เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2436
(ร.ศ.112) ใช้ชื่อว่า "สภาอุณาโลมแดง แห่งชาติสยาม" โดยดำเนินการช่วยทหารบาดเจ็บ ป่วยไข้จากการสู้รบ ทำหน้าที่ช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์
รักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยจากภัยสงคราม และภัยพิบัติต่างๆ

ปี พ.ศ. 2449 ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ส่งผู้แทนไปร่วมประชุมกาชาดระหว่างประเทศ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อลงนามความตกลงเรื่องการใช้เครื่องหมายกาชาดช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในสนามรบ สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม จึงได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า สภากาชาดสยาม โดยใช้เครื่องหมายกาชาดเป็นสัญลักษณ์
ปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ครองราชย์สืบต่อมา ได้ทรงสืบทอดพระราชภารกิจของสภากาชาดสยามให้เจริญก้าวหน้าเช่นอารยประเทศ
ปี พ.ศ.2454 พระองค์ท่านได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ผู้แทนจากสภากาชาดสยามไปร่วมประชุมกาชาดระหว่างประเทศ ที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมลงนามความตกลงเรื่องกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายกาชาด (กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ) และทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นอุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม บริหารงานของสภากาชาดให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ทรงมีพระราชโองการให้ประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยามในปี พ.ศ.2461
ปี พ.ศ.2463 ทรงนำสภากาชาดสยามเข้าเป็นสมาชิกของกาชาดสากลในปี สภากาชาดสยามเป็นสมาชิกกาชาดสากล ประเทศลำดับที่ 27
เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2464 กิจการของกาชาดสยามเจริญก้าวหน้ามาโดยตลอด
ปี พ.ศ.2482 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 สภากาชาดสยาม เปลี่ยนชื่อเป็น สภากาชาดไทย ตามชื่อของประเทศ
ปัจจุบันสภากาชาดไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ดังนี้

วันตรุษจีน

วันตรุษจีน 2555 ประวัติวันตรุษจีน
          ตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เพราะชาวจีนถือว่า วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ดังนั้นชาวจีนจึงให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้เป็นอย่างยิ่ง และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีเฉลิมฉลองแตกต่างกันไป สำหรับปี 2555 นี้ วันตรุษจีนตรงกับวันที่ 23 มกราคม
          สำหรับที่มาของ วันตรุษจีน นั้น เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีมานานกว่าสี่พันปีแล้ว จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เดิมที่ไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัย นั่นคือเมื่อ 2100 ปีก่อนคริสตศักราชจะเรียกว่า "ซุ่ย" ซึ่งมีความหมายถึงการโคจรครบหนึ่งรอบของดาวจูปิเตอร์ จนกระทั่งต่อมาในยุค 1000 กว่าปีก่อนคริสตศักราช เทศกาลตรุษจีนจะถูกเรียกว่า "เหนียน" หมายถึงการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์นั่นเอง

          นอกจากนี้ วันตรุษจีน ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันชุงเจ๋" ซึ่งหมายถึงเทศกาลดูใบไม้ผลิ หรือขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ เพราะช่วงก่อนตรุษจีนนั้นตรงกับฤดูหนาว ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ชาวจีนจึงสามารถทำนา ทำสวน ได้อีกครั้งหลังจากผ่านพ้นฤดูหนาวมานั่นเอง

          ส่วนการกำหนด วันตรุษจีน นั้น ตามประเพณีเทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีน และถือว่าคืนวันที่ 30 เดือน 12 เป็นวันส่งท้ายปีเก่า ส่วนวันที่ 1 เดือน 1 คือวันชิวอิก หมายถึงวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ
          การเตรียมงานเพื่อการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่หนึ่งเดือนก่อน วันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) โดยผู้คนจะเริ่มซื้อข้าวของต่างๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้านเรือน และเตรียมทำความสะอาดครั้งใหญ่ ตั้งแต่ชั้นบนลงชั้นล่าง เนื่องจากมีความเชื่อว่าจะเป็นการปัดกวาดสิ่งที่ไม่ดีออกไป ภายในบ้านทั้งประตู หน้าต่าง จะประดับประดาไปด้วยสีแดง และกระดาษสีแดงที่มีคำอวยพรให้อายุยืน ร่ำรวย อยู่ดีมีสุข ฯลฯ

          จากนั้นครอบครัวจะร่วมรับประทานอาหารที่ล้วนแต่มีความหมายมงคลทั้งสิ้น เช่น กุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรืองและความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งความโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาหร่าย จะนำความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร หลังจากทานอาหารค่ำแล้ว ทุกคนในครอบครัวจะนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับ วันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง
          นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของ วันตรุษจีน คือ "อั่งเปา" ซึ่งมีความหมายว่า "กระเป๋าแดง" หรือจะใช้คำว่า "แต๊ะเอีย" ซึ่งมีความหมายว่า "ผูกเอว" จากที่คนสมัยก่อนชอบร้อยเงินเป็นพวงผูกไว้ที่เอว โดยการให้อั่งเปานี้ คู่แต่งงานจะให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว จะออกมาจากบ้านเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ในหมู่ญาติ และด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) 

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

วันกองทับไทย

ความเป็นมาของวันกองทัพไทย
ภาพ:Nare_5.jpg

         ในปีพุทธศักราช 2502 กระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายน
ซึ่งเป็นคล้ายวันสถาปนากระทรวงกลาโหม เป็นวันกองทัพไทย
 ครั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ.2522 สมัยที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่า
การกระทรวงกลาโหม เห็นว่าวันกองทัพไทยควรเป็นวันที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
 ที่แสดงถึงความกล้าหาญและเสียสละ จึงได้กำหนดเอาวันที่
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีได้รับชัยชนะเหนือ
พระมหาอุปราชา เป็นวันกองทัพไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี
         วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี
กับพระมหาอุปราชาแม่ทัพพม่า ซึ่งตรงกับวันเดือนปีของจันทรคติ
 คือวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง ทั้งนี้ได้มีผู้คำนวณ
ไว้ว่าตรงกับวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2136
         คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2523 กำหนดให้วันที่ 25 มกราคม
 ของทุกปี เป็นวันกองทัพไทย และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหม
 โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 เป็นต้นมา
         พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ ซึ่งอดีตท่านเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรม
ไปรษณีย์โทรเลขและคณะกรรมการที่ปรึกษาอีกหลายหน่วยงาน
ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิ
พระดาบส ได้พบความคลาดเคลื่อนของวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรง
กระทำยุทธหัตถี และวันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปราบดาภิเษก
 จึงได้มีหนังสือพร้อมข้อมูลของวันกองทัพไทย เสนอไปสำนักเลขาธิการนายก
รัฐมนตรี
 กราบเรียนนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2539 เพื่อขอให้พิจารณาแก้ไข
 วันสำคัญทางประวัติศาสตร์ ของชาติไทยที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง
ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย 2 เรื่องคือ
         1. วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี
 กับพระมหาอุปราชา หรือ “วันกองทัพไทย” ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้
คือวันที่ 25 มกราคม ที่ถูกต้องคือ วันที่ 18 มกราคม
         2. วันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น
พระมหากษัตราธิราชของไทย ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้คือ วันที่ 28 ธันวาคม
ที่ถูกต้องคือ วันที่ 27 ธันวาคม
         - สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเรื่องมอบให้คณะกรรมการ
ชำระประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งมี หม่อมเจ้าสุภัทรดิศดิศกุล
 เป็นประธานกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย พิจารณาเรื่องดังกล่าว
โดยมีผลการพิจารณาดังนี้
          “….คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ได้พิจารณาเรื่อง
ดังกล่าวแล้วมีความเห็นว่า
         1. วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี
กับพระมหาอุปราชา หรือวัน “กองทัพไทย” ได้เคยมีการคำนวณไว้
เมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้ว โดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ว่าตรงกับวันที่
18 มกราคม และ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร รองประธานกรรมการ
ในคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ได้คำนวณ และเขียนบทความไว้ว่า
ตรงกับวันที่ 18 มกราคม เช่นกัน
         2. สาเหตุที่ได้กำหนดให้วันที่ 25 มกราคม เป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรง
กระทำยุทธหัตถีฯนั้น ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณนคร รองประธานกรรมการ
 ให้ข้อสันนิษฐานว่า ผู้คำนวณสำคัญผิดว่า วันเถลิงศกตรงกับวันที่ 15 หรือ
16เมษายนมาตลอด แต่แท้จริงวันเถลิงศก เพิ่งมาตรงกับวันที่ 15 เมษายน
 เมื่อ พ.ศ.2443 และเริ่มตรงกับวันที่ 15 เมษายนบ้าง วันที่ 16 เมษายนบ้าง
 มาตั้งแต่ พ.ศ.2474 ซึ่งในปีที่กระทำยุทธหัตถี วันเถลิงศก ตรงกับวันศุกร์ที่
 9 เมษายน แต่ผู้คำนวณคิดว่า วันเถลิงศกปีนั้น ตรงกับวันศุกร์ที่ 16 เมษายน
จึงคำนวณวันผิดไป 7 วัน
         3. การที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลง วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ทรงกระทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา หรือวัน “กองทัพไทย”
 ซึ่งได้กำหนดไว้ว่า เป็นวันที่ 25 มกราคม มาเป็นวันที่ 18 มกราคม
นั้น เป็นเรื่องของส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องพิจารณาเอง
เพียงแต่มีหนังสือแจ้งให้ทราบว่า วันที่ถูกต้องตามการคำนวณ คือวันที่ 18 มกราคม ก็คงจะเพียงพอแล้ว….”

ภาพ:Nare_3.jpg

         - สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
ของคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ให้ทราบดังนี้
          “….ตามที่ท่านได้มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้
พิจารณาแก้ไขวันสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง
 คือ
         1. วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา
 หรือวัน “กองทัพไทย” ซึ่งปัจจุบัน กำหนดให้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม ที่ถูกต้องคือ
 วันที่ 18 มกราคม….. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มอบให้
 คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย พิจารณาเรื่องดังกล่าว
และกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีบัญชาให้แจ้งผลการพิจารณา
ของคณะกรรมการฯ ให้ท่านทราบ….”
         - หนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่อ้างถึงนี้ได้แจ้งให้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทราบด้วย แต่ไม่ทราบผลการพิจารณา
ของผู้ที่เกี่ยวข้องของกระทรวงกลาโหม
         - เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2540 พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์
 ได้มีหนังสือเสนอกองบัญชาการทหารสูงสุด ขอให้เปลี่ยนแปลงวันกองทัพไทย
โดยท่านให้ข้อคิดเห็นว่า ท่านได้ศึกษาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์
 โดยใช้หลักวิชาโหราศาสตร์ดวงดาว ทั้งฮินดู และตะวันตกมาคำนวณ
เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ของวันดังกล่าวว่าถูกต้องหรือไม่?
         - จากเอกสารที่เสนอกองบัญชาการทหารสูงสุด กรมยุทธศึกษาทหาร
ได้นำเสนอในที่ประชุมกรมเสนาธิการร่วม กองบัญชาการทหารสูงสุด
มีรายละเอียดดังนี้
         ตามที่ พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ นายตำรวจนอกราชการ
 ได้มีหนังสือนำเรียน ผบ.ทหารสูงสุด เสนอให้พิจารณาเปลี่ยนวันกองทัพไทย
 จาก 25 ม.ค. เป็น 18 ม.ค. ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา ยศ.ทหาร มีข้อพิจารณาดังนี้
         1. การประชุมสภากลาโหม ครั้งที่ 12/22 เมื่อ 22 ธ.ค.22 ได้มีมติ
 กำหนดให้วันที่ 25 ม.ค. ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
 ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา เป็นวันกองทัพไทย
 ซึ่ง ครม.ได้ลงมติเห็นชอบและอนุมัติ และเมื่อ 28 มิ.ย.27 ที่ประชุมสภากลาโหม
ได้มีมติยืนยันว่าวันที่ 25 ม.ค. ถือเป็นวันกองทัพไทย ซึ่งเป็นที่ยอมรับของ
ทางราชการแล้ว และหากมีการเปลี่ยนแปลง วันที่กระทำยุทธหัตถี รัฐบาล
ต้องประกาศเปลี่ยนแปลง
         2. สำนักนายกรัฐมนตรีได้ยืนยัน และแจ้งให้ กห.ทราบ เมื่อ 21 ส.ค.41
 ว่าวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี ที่ถูกต้องคือ วันที่
18 ม.ค. ประธานให้ใช้วันที่ 25 ม.ค. เป็นวันกองทัพไทยตามเดิม จนกว่าทางรัฐบาล
 จะมีหนังสือแจ้งว่าวันใด เป็นวันกระทำยุทธหัตถี ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ที่แน่นอน บก.ทหารสูงสุด จึงจะดำเนินการต่อไป
ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 กำหนดให้วันที่ 18
มกราคมของทุกปี เป็นวันยุทธหัตถีและวันรัฐพิธีแทนวันที่ 25 มกราคม ดังนั้น
เพื่อให้การกำหนดวันกองทัพไทยสอดคล้องกับเหตุผลที่ยึดถืออยู่เดิม
         คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2549 เห็นชอบตามที่
กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวัน
ที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็น
วันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหม

วันครู

วันครูของประเทศไทย
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศ
พระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิ
การเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ใน
เรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องน
โยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม
 จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู
จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร
 ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี
 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา
และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา
โดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่
ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคียาจารย์
 หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์
ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่าง
ในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้
บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย
 เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้
มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ
ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย
ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ
ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของ
ครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติ
และประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้
พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวย
การต่อไป
 โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์
ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่าง
ครูกับประชาชน
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิ
การสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑา
สถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครู
ไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู
 และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

วันปีใหม่


ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
          ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน
ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบ
ดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่
          ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ
 ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม
 ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์
 ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก
 ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่
ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคง
ยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน
ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริง
วันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัด
ในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด
 วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้ง
คณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ
ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม
 โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆ
ที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้
หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต
 เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
          วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร
ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียม
ทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันรัฐธรรมนูญ

10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ

  

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง 

          วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี
ความหมายของรัฐธรรมนูญ

          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ
          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
ประวัติความเป็นมา

          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  
           พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย 

           หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ 

           อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน 

           รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร
 

          จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

           พระมหากษัตริย์
           สภาผู้แทนราษฎร
           คณะกรรมการราษฎร
           ศาล

          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้
วันรัฐธรรมนูญ

          สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

          กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี
          ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้

          หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้ 

          รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ